การนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร

ปรางค์ นาคปรก, พระนาคปรก พุทธคุณ, บูชาพระนาคปรก, ราคา พระ ปาง นาคปรก, พระนาคปรก ราคา, พระปางนาคปรก วัดไหนดี, พระปางนาคปรก ห้อยคอ, พระนาคปรก ราคาแพงที่สุด,
นำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร
ข้อแนะนำการส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร
บุคคลทั่วไป
            ๑.  กรอกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ทางราชการจัดให้  (ศก.๖)
            ๒. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร  ให้เหตุผลส่งหรือนำไปเพื่ออะไร  ไว้ที่ใดโดยละเอียด
            ๓.  ในกรณีที่นำติดตัวไปเอง  ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออนุญาต  ๑  ชุด
                 ในกรณีที่ส่งไปถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรข้าราชการ
            ๔.  ให้แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร  องค์การ
                 (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ  และยอมรับจากทางราชการ)
สมาคม   หมายถึง   ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทางราชการ
สถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา   คือ  พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์  เป็นเจ้าอาวาส  รองเจ้าอาวาส  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  หรือเลขาธิการสมเด็จพระสังฆราช  เป็นผู้ลงนามรับรอง  หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ว่าจะส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรเพื่อสักการบูชา   เพื่อศึกษาวิจัย   เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ   หรือเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือโบราณคดี
ในกรณีที่เจ้าอาวาสวัด  รองเจ้าอาวาสวัดฯ  หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด  รับรอง    ต้องมีเอกสาร  ดังนี้
            ๑.  ทำหนังสือจากวัดถึงอธิบดีกรมศิลปากร
            ๒. สำเนาใบสุทธิประวัติเดิม – ปัจจุบัน
            ๓.  สำเนาใบแต่งตั้งสมณศักดิ์  หรือหลักฐานยืนยันชื่อลงนามในหนังสือรับรอง
ในกรณีที่ข้าราชการรับรอง    (ต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่  ระดับ ๔  ขึ้นไป)
            ๑.  ทำหนังสือจากผู้รับรองถึงอธิบดีกรมศิลปากร  รับรองผู้ขออนุญาตส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร
            ๒. สำเนาบัตรข้าราชการ  ด้านหน้า – หลัง
อนึ่ง    เอกสารที่เป็นสำเนา  ให้ผู้รับรองลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
ภาพถ่ายของวัตถุ
            ใช้ภาพสี  ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว  จำนวน  ๒  ภาพ  ต่อวัตถุ  ๑  รายการ   ถ่ายภาพเฉพาะด้านหน้าให้   ชัดเจน  หากมีพลาสติกห่อหุ้มให้เอาออกก่อนถ่ายภาพ   นำวัตถุที่จะส่งหรือนำออกทุกชิ้นไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ  ในวันที่ยื่นคำร้อง (ศก.๖)   ณ  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  (อาคารกรมศิลปากรใหม่)  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ  ๑๐๓๐๐
            ระยะเวลาออกใบอนุญาต         ๒   วันทำการ
            เวลาทำการตรวจพิสูจน์            เช้า    เวลา  ๑๐.๐๐  น.
                                                  บ่าย   เวลา  ๑๔.๐๐  น.
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
โทรศัพท์, โทรสาร  ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓

ขั้นตอนและวิธีการ


 การขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร

๑.   ผู้ขออนุญาต  ต้องกรอกในคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖)  พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต   ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
๒.  ผู้ขออนุญาต  จะต้องนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้นไปให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   หากไม่สามารถนำไปให้ตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตสามารถทำหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลต่ออธิบดีขอให้มีการตรวจพิสูจน์  ณ สถานที่ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ  ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด
๓.  เจ้าหน้าที่จะผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น  ที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ สรุปความ เห็นอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรได้
๔.  ภายใน ๑ – ๒ วันทำการ  ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตไปรับใบอนุญาต   พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
      ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
      ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน
      – ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๓๐๐  บาท
      – ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท
      – ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท
      ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุ  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน
      – ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท
      – ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท
      – ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ   ๕๐  บาท
๕.  เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรสีชมพู)  เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำไปผูกกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่วที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น
๖.   ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุไปผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้องตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต