อานิสงส์ของการสร้างฉัตรพระประธาน

ฉัตรอัลลอยด์ กลางแจ้ง 30 นิ้ว1

ความหมาย และอานิสงส์ของการถวายฉัตรพระประธาน

คำ ว่า “ฉัตร” สามัญชนหมายถึง “ร่ม” แต่ถ้าเป็นบุคคลผู้สูงศักดิ์ เช่น พระมหากษัตริย์ เป็นต้น เรียกกันว่า “เศวตฉัตร” ตามพระราชประเพณีเรียกกันว่า “เครื่องสูง” เป็นการสถาปนาพระเกียรติยศ สำหรับผู้ที่ควรแก่การ
ยกย่องเชิดชู เช่น การถวายเศวตฉัตร 7 ชั้น ให้แก่ สมเด็จพระพี่นางฯ เป็นต้น

ตามธรรมเนียมของคนไทย โดยเฉพาะในเรื่องพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ เชื่อว่าตัวเลขที่เป็นมงคล ต่างก็ให้ความหมายไว้ดังนี้
– เลข 3 ได้แก่ พระรัตนตรัย คือ แก้วทั้ง 3 ประการ
– เลข 5 อาจจะหมายถึง พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์
– เลข 7 น่าจะหมายถึง โพชญงค์ 7 (คุณเครื่องแห่งความสำเร็จ)
– เลข 9 คนไทยถือว่าเป็นเลขดี มีความก้าวหน้าเป็นต้น โดยเฉพาะทางพุทธศาสนาหมายถึง มรรค 4 ผล 4 และนิพพาน 1

ฉะนั้น การจะถวายฉัตรให้แก่พระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์ชั้นสูง หรือถวายเศวตฉัตรให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงก็ตาม คงจะถวายไปตามลำดับความสำคัญของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามพระราชประเพณีมาแต่โบราณ

ส่วนอานิสงส์การถวาย “ร่ม” หรือ “ฉัตร” นั้น ในทางพระพุทธศาสนาถือว่ามีอานิสงส์สูง สมัยที่พระพุทธเจ้ายังเป็นหน่อเนื้อพระบรมโพธิสัตว์ พระองค์ยังทรงเคยถวายร่มให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วย การถวายร่มหรือถวายอาสนะ เชื่อกันว่าจะได้เกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

โดยเฉพาะสมัยพุทธกาล พระภัททิยะ ได้เกิดในตระกูล “ศากยราช” เมื่อออกบวช (ออกบวชพร้อมพระอานนท์) แล้วพระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องว่า “เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง” ตามประวัติเล่าว่า ชาติก่อนท่านได้เคยถวายอาสนะเป็นต้น ด้วยอานิสงส์ทั้งหลายเหล่านี้ ท่านได้เกิดในตระกูลกษัตริย์ติดต่อกันถึง 500 ชาติ เพราะตามธรรมดาคนทั่วไปมักจะเกิดสลับชาติกัน บางชาติเป็นคนธรรมดา บางชาติเป็นบุคคลสูงศักดิ์ อย่างนี้ เป็นต้น

อานิสงส์ของการถวายฉัตร

เราได้ถวายฉัตรในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ

  1. เราไม่รู้สึกหนาว
  2. ไม่รู้สึกร้อน
  3. ละอองและธุลีไม่แปดเปื้อน
  4. เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย
  5. ไม่มีจัญไร
  6. อันมหาชนยำเกรงทุกเมื่อ
  7. เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียด
  8. เป็นผู้มีใจกว้างขวาง (ไม่หดหู่)

เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ฉัตรหนึ่งแสนคันอันประกอบด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง เว้นชาตินี้แล้ว ทรงไว้เหนือศีรษะ ของเรา เพราะผลแห่งกรรมนั้น เพราะฉะนั้น ในชาตินี้ การทรงฉัตรจึงม่มีแก่เรา กรรมทั้งปวงที่เราทำแล้ว เพราะผลบุญแห่งฉัตรหลุดพ้นไป

คำถวายฉัตรเงินฉัตรทองเป็นพุทธบูชา

ยัคเฆ ภันเต สังโฆ ปะฏิชานาตุ มะยัง ภันเต เอตัง หิรัญญะสุวัณณะฉัตตาติฉัตตะยุคัง สะปะริวารัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ อิมัสสะหมิง อุโปสะถาคาเร นิยยาเทมะ สาธุ โน ภันเต อะยัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ หิรัญญะสุวัณณะฉัตตาติฉัตตะยุคัสสะ ทานัสสะ อานิสังโส อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ปิยะชะนานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ ฯ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอมอบถวายฉัตรเงินฉัตรทองคู่นี้พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ พระอุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชา ขออานิสงส์แห่งการถวายฉัตรเงินฉัตรทอง ทั้งคู่ เพื่อเป็นพุทธบูชานี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ ฯ

ดูแบบฉัตรต่างๆได้ที่  ..

ฉัตร,ราคา ฉัตร,ฉัตรกลางแจ้ง,ทำฉัร,การถวายฉัตร,
ฉัตรอัลลอยด์ กลางแจ้ง 35 นิ้ว กลางแจ้ง 3 ชั้น

ฉัตร

เป็นเครื่องสูงสำหรับแขวน ปักตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ มีรูปร่างคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่าชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลำดับ ฉัตรไม่ว่าจะกี่ชั้นก็ตาม เป็นของตัวเองหนึ่งชั้น นอกนั้นจะมีซ้อนกันอยู่ที่ชั้น ก็หมายความว่าเป็นผู้ชนะกี่ทิศ เช่น ฉัตรสามชั้น หมายถึงผู้ชนะในสองทัพ  ฉัตรเก้าชั้นหมายถึงผู้ชนะในแปดทิศ

คนไทยจะใช้ฉัตรเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศแต่ครั้งใดไม่ปรากฎหลักฐาน แต่ในสมัยอยุธยาได้มีการใช้ฉัตรเป็นเครื่องหมายประกอบเกียรติยศ มาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เพราะมีข้อความในกฎมณเฑียรบาลฉบับที่ตราขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1901 กำหนดไว้ว่า “หน่อสมเด็จพระพุทธเจ้า ได้อภิรมสามชั้น พระอุปราชได้อภิรมสองชั้น”

ฉัตรมีอยู่สองประเภทคือ เป็นฉัตรแขวนหรือปักเป็นเครื่องแสดงพระอิสริยยศ ผู้ทรงฉัตรประเภทหนึ่ง เป็นฉัตรตั้งในพิธีหรือเชิญไปในขบวนแห่ เพื่อเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศอีกประเภทหนึ่ง ฉัตรสำหรับแขวนหรือปัก เป็นฉัตรเดี่ยวมีอยู่สี่ชนิดคือ เศวตฉัตร (ฉัตรขาว)  ฉัตรขาวลายทอง ฉัตรตาด และฉัตรโหมด ทั้งหมดเป็นฉัตรเตี้ย ใช้แขวนหรือปักเดี่ยววทั้งสิ้น เว้นพระมหาเศตวฉัตรที่ถวายในโอกาสที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติ บรมราชาภิเษกเท่านั้น ที่เป็นฉัตรทรงชะลูด ฉัตรแต่ละชนิดมีชั้นมีสี และใช้สำหรับแสดงอิสริยยศต่างกันคือ

1. เศวตฉัตร  เป็นฉัตรผ้าขาวทรงกว้างมีสี่แบบคือ นพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นฉัตรเก้าชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษก ตามโบราณขัตติยราชประเพณีแล้ว เรียกกันโดยย่อว่า พระมหาเศวตฉัตร พระสัปตปฎลเศวตฉัตร เป็นฉัตรเจ็ดชั้น สำหรับพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ที่ยังมิได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระยุพราช เบญจปฎลเศวตฉัตร เป็นฉัตรห้าชั้น สำหรับพระราชวงศ์ที่ดำรงพระยศเจ้าฟ้า พระมเหสีชั้นพระราชเทวี และพระอัครชายาเธอ กับสกลมหาสังฆปรินายก ที่ได้รับสมณุตมาภิเษกเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

2. ฉัตรขาวลายทอง  เป็นฉัตรห้าชั้น พื้นขาวเขียนลายทองห้อยจำปาทอง เป็นฉัตรสำหรับพระบรมราชวงศ์ ชั้นพระองค์เจ้าที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรม ชั้นสมเด็จกรมพระยา

3. ฉัตรตาด  มีสองแบบคือ ฉัตรตาดขาวห้าชั้น เป็นฉัตรสำหรับพระราชโอรส พระราชธิดา ของพระมหากษัตริย์ ที่ดำรงพระยศพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นกรมพระ ฉัตรตาดเหลืองห้าชั้น  สำหรับพระราชโอรส พระราชธิดา ของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระยศ พระองค์เจ้าต่างกรมชั้นกรมหลวง กับเป็นฉัตรสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

4. ฉัตรโหมด  มีห้าแบบคือ ฉัตรโหมดขาวห้าชั้น สำหรับพระราชโอรส พระราชธิดา ของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระองค์เจ้าต่างกรมชั้นกรมขุน ฉัตรโหมดเหลืองห้าชั้น สำหรับพระราชโอรส พระราชธิดา ของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระองค์เจ้าต่างกรมชั้นกรมหมื่น ฉัตรโหมดทองห้าชั้น สำหรับพระราชโอรส พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระองค์เจ้าแต่มิได้ทรงกรม ฉัตรโหมดเงินสามชั้น สำหรับพระโอรส พระธิดา ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระองค์เจ้าต่างกรม ฉัตรโหมดทองสามชั้น สำหรับพระโอรส พระธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้า ที่มิได้ทรงกรม

สำหรับฉัตรตั้งในพิธี หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ มีอยู่หกชนิดคือ

1. พระมหาเศวตฉัตรกรรภิรมย์  เป็นฉัตรห้าชั้น สำรับหนึ่งมีสามองค์คือ พระเสนาธิปัตย พระฉัตรไชย พระเกาวพ่าห์ (ดูก กรรภิรมย์ – ลำดับที่ 48)

2. พระอภิรุมชุมสาย  เป็นฉัตรเครื่องสูง สำหรับใช้ในกระบวนแห่ หรือสวมฐานตั้งเป็นเกียรติยศ ประจำสถานที่หรือเฉพาะงาน สำรับหนึ่งประกอบด้วย ฉัตรเจ็ดชั้น 4  ฉัตรห้าชั้น 10  ฉัตรชุมสาย 5 อภิรุมชุมสายนี้ มีสองแบบคือ แบบปักหักทองขวางแบบหนึ่ง และแบบลายทองแผ่ลวดอีกแบบหนึ่ง

3. ฉัตรเครื่องสูงวังหน้า  เป็นเครื่องสูงสำหรับสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวร ฯ และ พระราชโอรส – ธิดา สำรับหนึ่งมีฉัตรห้าชั้น 4 และฉัตรสามชั้น 10

4. ฉัตรเครื่อง  เป็นฉัตรห้าชั้น ใช้สำหรับศพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ ศพผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยาสุพรรณบัฎ หรือหิรัญบัฎ องคมนตรี ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ที่ถึงอสัญกรรมในตำแหน่ง

5. ฉัตรเบญจา  เป็นฉัตรห้าชั้น ใช้สำหรับการศพพระราชวงศ์ ชั้นหม่อมเจ้า ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่ำกว่า ทุติยจุลจอมกล้าวิเศษลงมา พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ แต่พระราชาคณะชั้นธรรม ถึงพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง และผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป แต่ไม่ถึงปฐมจุลจอมเกล้า รวมทั้งบิดามารดาของผู้กำลังดำรงตำแหน่งองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา ฯ และประธานศาลฎีกา ด้วย

6. ฉัตรราชวัติ  คำว่า ราชวัติ หมายถึง รั้วที่มีฉัตรปักเป็นระยะ ใช้ฉัตรสีต่าง ๆ อันเป็นแม่สี  ซึ่งเรียกกันว่า เบญจรงค์ และฉัตรเงิน ทอง นาค ชั้นของฉัตรสุดแล้วแต่งาน
ที่มา https://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/112.html