คุณสุทัศน์ ศรีพรม กรรมการผู้จัดการ บจก.บุญสังฆภัณฑ์น้อมถวายตาลปัตรกฐินพระราชทาน ปี 2566 วัดบุณยประดิษฐ์ พระอารามหลวง วัดที่เคยอาศัยบวชเรียนเขียนอ่าน

อานิสงส์การถวายตาลปัตร,ราคาตาลปัตร,ความหมายของตาลปัตร,โรงปักตาลปัตร,คำอธิษฐานถวายตาลปัตร,คุณสุทัศน์-ศรีพรม-กรรมการผู้จัดการ-บจก.บุญสังฆภัณฑ์-1

#น้อมถวายตาลปัตรกฐินพระราชทาน
วัดบุณยประดิษฐ์วัดที่เคยอาศัยบวชเรียนเขียนอ่าน

คำอธิษฐานถวายตาลปัตร
ขออานิสงส์แห่งการถวายตาลปัตร หากแม้นมีเรื่องไม่พึงประสงค์ ทุกข์โทษ เศร้าหมอง ไม่สบาย ให้กลับกลายเป็นเรื่องดี เจริญกาย เจริญใจ และเรื่องดีทั้งหลาย ให้สมประสงค์ได้เป็นทวีคูณเทอญ
#อานิสงส์การถวายตาลปัตร…
เราจักถึงพร้อมด้วยยศ ด้วยศักดิ์
ด้วยอำนาจแห่งธรรม อำนาจแห่งศีล
มีชื่อเสียงเกียรติคุณแผ่ก้องไปไพศาล

ประวัติวัดบุณยประดิษฐ์ เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
เป็นพระอารามหลวงเพียงแห่งเดียวในเขตบางแค ตั้งอยู่เลขที่ ๙ หมู่ที่ ๒ ถนนพุทธมณฑล สาย ๒ แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๑๖๐ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๓ ไร่ ๑๕ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๕๔๙ , ๑๗๔๕๒ , ๑๗๔๕๔ , ๑๑๙๙๑๓ และ ๘๓๖๒๒ ตั้งวัดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งแรก ( ค้นหลักฐานไม่พบ)

ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๔๗ ( ตามประกาศของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๗) พื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ
ทิศเหนือ ตั้งโรงเรียนประถม สังกัดกรุงเทพมหานคร ติดกับสหกรณ์การเกษตรเขตภาษีเจริญทิศใต้ ติดคลองบางแวก
ทิศตะวันออก ติดที่ดินเอกชน
ทิศตะวันตก ติดที่ดินจัดสรรของเอกชน
วัดบุณยประดิษฐ์ เดิมชื่อวัดใหม่บุญน่วม บ้างชาวบ้านก็เรียกว่าวัดใหม่ตาน่วม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เมื่อราวปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ คุณโยมบุญ คุณโยมน่วม โพธินิมิตร เป็นผู้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินสร้างวัด จำนวน ๑๐ ไร่ ๓ งาน ๗๘ ตารางวา และได้กราบอาราธนาพระอาจารย์สวาท จากวัดศาลาแดง มาอยู่จำพรรษาและเป็นผู้ดูแลวัด จนกระทั่งท่านได้ถึงแก่มรณภาพ
ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ ทายกทายิกาได้กราบอาราธนาพระอาจารย์หรั่ง มาอยู่จำพรรษาและเป็นผู้ดูแลวัดเป็นรูปต่อมา จนท่านได้ถึงแก่มรณภาพ
ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ญาติโยมทายกทายิกาได้กราบอาราธนาหลวงพ่อสิน ติสฺโส มาอยู่จำพรรษาและดูแลปกครองวัดเป็นลำดับมาและได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดบุณยประดิษฐ์ ท่านเป็นพระนักพัฒนาและเป็นนักปกครอง ท่านได้เชิญชวนคณะศรัทธาญาติโยมร่วมกันสร้างอาคารเสนาสนะ อาทิ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ศาลาโรงทึม และในส่วนอื่น ๆ อีก เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการบำเพ็ญกุศล ในด้านการสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม หลวงพ่อสิน ติสฺโส ท่านได้เปิดให้มีการเรียนการสอนแผนกธรรมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตลอดอายุไขของท่าน ท่านได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดบุณยประดิษฐ์ และท้องถิ่นมาโดยลำดับ จนกระทั่งท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ รวมสิริอายุ ๗๗ พรรษา ๔๑ ด้วยอาการอันสงบ
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ พระอาจารย์จำรัส ภทฺทโก ผู้ดูแลปกครองวัด ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ และได้ลาสิกขาไปเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ พระอาจารย์สนิท อมโร ซึ่งได้รับการอุปสมบท ณ วัดบุณยประดิษฐ์ แห่งนี้ เป็นผู้ดูแลปกครองวัดสืบมาและได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ท่านได้พัฒนาวัด โดยได้สร้างกุฎิสงฆ์จำนวน ๔๐ ห้อง ปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ท่านได้ซื้อที่ดินเพิ่มขยายอาณาบริเวณวัดอีกจำนวน ๕ ไร่เศษ ร่วมกับกรรมการและชาวบ้านตัดถนนมูลดินเพื่อทำทางเข้าวัด โดยใช้ชื่อว่า ถนนพัฒนกิจ จนกระทั่งท่านได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูอมรพัฒนกิจ ( สนิท อมโร) และได้ลาสิกขาไปเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๘
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ คณะกรรมการและทายกทา
ยิกา จึงได้กราบอาราธนาพระมหาทวนทอง
ชินวํโส น . ธ. โท , ป. ธ. ๓ ซึ่งได้อุปสมบท ณ วัด
บุณยประดิษฐ์ แห่งนี้ และไปศึกษาพระปริยัติธรรม
อยู่ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กลับมารักษาการแทนเจ้าอาวาสในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (พระวิสุทธาธิบดี วัดไตรมิตรวิทยาราม) ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุณยประดิษฐ์ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ และเป็นรูปปัจจุบัน ท่านเป็นพระนักพัฒนา นักปกครอง ให้การสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ได้พัฒนาบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะทั้งในส่วนของเดิม และก่อสร้างใหม่ อาทิ สร้างศาลาอเนกประสงค์ สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ซื้อที่ดินขยายอาณาบริเวณวัดเพิ่มขึ้นฯ
 
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ พระมหาทวนทอง ชินวํโส ป . ธ. ๓ , น. ธ. โท เจ้าอาวาสวัดบุณยประดิษฐ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนาม ที่ พระครูพิพัฒนโกวิท
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะใหญ่หนกลาง (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา) ให้ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาและสืบทอดเจตนารมณ์ในการสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมของ
หลวงพ่อสิน ติสฺโส อดีตเจ้าอาวาส ที่ท่านได้เปิดทำการสอนแผนกธรรมไว้ พระครูพิพัฒนโกวิท จึงได้ดำเนินการเปิดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีขึ้นในปีนี้เอง
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ได้เสนอเรื่องในการขอจัดตั้งเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมจากเจ้า
คณะผู้ปกครองตามลำดับชั้นจนถึงมหาเถรสมาคมและได้รับอนุมัติให้ยกจากสำนักศาสนศึกษาขึ้นเป็น สำนักเรียนวัดบุณยประดิษฐ์ และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าสำนักเรียนวัดบุณยประดิษฐ์ด้วย
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ พระครูพิพัฒนโกวิท เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักเรียนวัดบุณยประดิษฐ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนาม ที่ พระปริยัติกิจโสภณ
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ เจ้าคณะภาค ๑ (พระธรรมโมลี วัดพิชยญาติการาม) โดยอนุมัติของเจ้าคณะใหญ่หนกลาง (สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม) แต่งตั้งให้พระปริยัติกิจโสภณ เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักเรียนวัดบุณยประดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งการปกครองทางคณะสงฆ์ เป็นเจ้าคณะเขตบางแค และได้รับพระบัญชาจากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เกี่ยว อุปเสโณ ป. ธ. ๙) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๕
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ วัดบุณยประดิษฐ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง
ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตามประกาศของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ โดยประกาศในราชกิจจานุเษกษา เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๗ พระเทพเมธี เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ได้แต่งตั้ง พระปริยัติกิจโสภณ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบุณยประดิษฐ์ พระอารามหลวง และต่อมาได้รับพระบัญชาจากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เกี่ยว อุปเสโณ ป. ธ. ๙) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบุณยประดิษฐ์ พระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ พระปริยัติกิจโสภณ เจ้าอาวาส – เจ้าสำนักเรียนวัดบุณยประดิษฐ์ และเจ้าคณะเขตบางแค ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชรัตนโสภณ วิมลปริยัติกิจจาทร บวรสังฆาราม คามวาสี
 
พระอุโบส
สร้างในสมัยพระครูพิพัฒนโกวิท เมื่อ พ . ศ. ๒๕๓๑ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โดยเจ้า ประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ฟื้น ชุตินธโร ป. ธ. ๙) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสุโขทัย หน้าบันและซุ้มลงรักปิดทอง ผนังด้านนอกหินล้าง ผนังด้านในเขียนภาพพุทธประวัติและพระเวสสันดรและพระเจ้าสิบชาติ มีขนาดความกว้าง ๙. ๘๐ เมตร ความยาว ๒๙ เมตร
พระประธาน
พระพุทธชินราชจำลอง เป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๙ นิ้ว
พระวิหาร
พระวิหารพระวิหาร ( อุโบสถหลังเดิม) สร้างในสมัยพระอธิการสิน ติสโส เป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ. ศ. ๒๔๙๗คุณแม่สวน แย้มสร้อย ได้รับเป็นเจ้าภาพในการบูรณะสมัยพระครูพิพัฒนโกวิท เมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๘ มีขนาดความกว้าง ๖ เมตร ความยาว ๒๕ เมตร ได้บูรณะองค์พระประธานด้วยการลงรักปิดทอง และบูรณะวิหารใหม่ด้วยการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่เป็นกระเบื้องเคลือบสุโขทัย ช่อฟ้า ใบระกา คันทวย บัวปลายเสาประดับกระจกสีทอง หน้าบันไม้สักดังเดิม ซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่างเป็นลวดลายปูนปั้นแบบโบราณ พื้นและผนังด้านในปูด้วยหินอ่อน ด้านนอกฉาบด้วยหินล้าง
พระประธานประจำพระวิหาร
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สร้างพร้อมอุโบสถหลังเก่าและได้รับการบูรณปฏิสังขณ์โดยการลงรักปิดทองใหม่
1 หลวงพ่อปานเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด
2 พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญรูปเหมือนหล่อเท่าขนาดองค์จริง ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร
3 หลวงพ่อสิน ติสฺโสรูปเหมือนหล่อเท่าขนาดองค์จริง อดีตเจ้าอาวาสวัดบุณยประดิษฐ์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร
คุณสุทัศน์ ศรีพรม กรรมการผู้จัดการ บจก.บุญสังฆภัณฑ์
คุณสุทัศน์ ศรีพรม กรรมการผู้จัดการ บจก.บุญสังฆภัณฑ์

อ่านข่าวอื่นๆ: