คุณสุทัศน์ ศรีพรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุญสังฆภัณฑ์ จำกัด และพนักงาน ร่วมกันทำบุญน้อมถวายพระประจำวันเกิด เนื้อทองเหลือง พ่นทอง ขนาด 9 นิ้ว จำนวน 9 ปาง หรือ 9 องค์ถวายวัดสว่างเวฬุวัน บ้านห้วยไผ่ ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ (วัดที่เคยบวชอยู่อาศัย)มูลค่ารวมทั้งหมด 25,000 บาท

อนุโมทนาบุญร่วมกันครับ คุณสุทัศน์ ศรีพรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุญสังฆภัณฑ์ จำกัด และพนักงาน ร่วมกันทำบุญน้อมถวาย พระประจำวันเกิด เนื้อทองเหลือง พ่นทอง ขนาด 9 นิ้ว จำนวน 9 ปาง หรือ 9 องค์ ถวายวัดสว่างเวฬุวัน บ้านห้วยไผ่ ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ (วัดที่เคยบวชอยู่อาศัย) มูลค่ารวมทั้งหมด 25,000 บาท

มารู้จักพระพุทธรูปทั้ง 8 ปาง พร้อมบทสวดบูชาแต่ละปาง เพื่อจากนี้ต่อไปใครที่ยังไม่เคยคิดที่จะสวดมนต์ หรือไม่รู้จะสวดบทไหน ก็ลองเอาพระประจำวันเป็นที่ตั้ง

มารู้จักพระพุทธรูปทั้ง 8 ปาง พร้อมบทสวดบูชาแต่ละปาง เพื่อจากนี้ต่อไปใครที่ยังไม่เคยคิดที่จะสวดมนต์ หรือไม่รู้จะสวดบทไหน ก็ลองเอาพระประจำวันเป็นที่ตั้ง

โดย…อาโป

อานิสงส์ของการไหว้พระเท่าที่สัมผัสได้ คือ ทุกครั้งที่ไหว้จิตใจจะผ่องใส มีความสุข และโน้มไปหาแต่สิ่งดีงาม ไม่ใฝ่ใจไปในอกุศลธรรม
คนสมัยนี้นิยมไหว้พระประจำวัน และเมื่อไปงานบุญที่วัดจะต้องได้เห็น เพราะจะมีมุมตักบาตรพระประจำวันให้คนได้ทำตามอัธยาศัย ใครเกิดวันอะไรก็ไหว้พระประจำวันนั้น

ปราชญ์คนใดช่างคิดเอาพระพุทธรูปปางต่างๆ มาจัดลงในวันทั้ง 7 วัน ได้อย่างอัศจรรย์ ให้คนได้กราบไหว้บูชาและยึดมั่นในความดีงาม คนต้นคิดช่างชาญฉลาดในกุศโลบายผูกใจคนให้อยู่กับสิ่งที่ดีงาม

มารู้จักพระพุทธรูปทั้ง 8 ปาง พร้อมบทสวดบูชาแต่ละปาง เพื่อจากนี้ต่อไปใครที่ยังไม่เคยคิดที่จะสวดมนต์ หรือไม่รู้จะสวดบทไหน ก็ลองเอาพระประจำวันเป็นที่ตั้ง แล้วสวดบูชาด้วยคาถาบูชาพระประจำวันก่อนนอน

วันอาทิตย์ : ปางถวายเนตร เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสอง เพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองลงมาประสานอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสำรวม

บทสวดบูชา คือ บทโมรปริตร ซึ่งขึ้นต้น อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ฯลฯ

วันจันทร์ : ปางห้ามญาติ (บางแห่งว่าปางห้ามสมุทร) ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงห้าม

คาถาสวดบูชา คือ บทอภัยปริตร ขึ้นต้นว่า ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ฯลฯ สัพพะสังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

วันอังคาร : ปางไสยาสน์ ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา เมื่อคราวจะปรินิพพานทรงหลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาลักษณะตั้งซ้อนกัน

สวด “บทขัดธชัคคสูตร” ขึ้นต้น ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน ฯลฯ คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห

วันพุธ (กลางวัน) : ปางอุ้มบาตร ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดติดกัน และพระหัตถ์ทั้งสองชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว

สวด “บทขัดขันธปริตร” ขึ้นต้น สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ฯลฯ สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห

วันพุธ (กลางคืน) : ปางปาริไลยก์ ในพระอิริยาบถประทับบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสองลง ทอดพระบาทเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุขวาเป็นกิริยาทรงรับ มีช้างหมอบถือน้ำยื่นถวาย และมีลิงหมอบถือรวงผึ้งถวายเฉพาะพระพักตร์

สวด “บทขัดกรณียเมตตสูตร” ขึ้นต้น ยัสสานุภาเวนะ ยักขา เนวะ ทัสเสนะติ ภิงสะนัง ฯลฯ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะเห หรือ “บทจันทปริตร” (ย่อ) ขึ้นต้น กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ ฯลฯ พุทธาคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยะ จันทิมันติ

วันพฤหัสบดี : ปางสมาธิ ในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองหงายวางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

สวด “บทขัดโมรปริตร” ขึ้นต้น ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง ฯลฯ พรัหมมะมันตันติ อักขาตัง ปะริตตันตัมภะณามะเห

วันศุกร์ : ปางรำพึง ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองประทับยืนชิดติดกัน

สวด “บทขัดอาฏานาฏิยปริตร” ขึ้นต้น อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต ฯลฯ ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะเห

วันเสาร์ : ปางนาคปรก ในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิราบ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องพระเศียร

สวด “บทอังคุลิมาลปริตร” ขึ้นต้น ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต ฯลฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

ทั้งนี้ บทสวดที่กล่าวมาเป็นแต่โดยย่อ อยากได้บทเต็มควรไปหาซื้อหนังสือ “มนต์พิธี” ซึ่งเป็นหนังสือสวดมนต์มาท่องจำให้ขึ้นใจ
อาทิตย์หนึ่งอย่างน้อยควรสวดหนึ่งวัน เลือกวันที่เกิด เช่น เกิดวันจันทร์ก็สวดบทอภัยปริตร สวดก่อนนอนจะได้หลับสบาย ไม่ฝันร้าย

สิ่งสำคัญ พ่อแม่อย่าลืมปลูกฝังสิ่งดีๆ เหล่านี้แก่ลูก สอนให้ลูกรู้จักการไหว้พระและสวดมนต์ไปทีละนิด ปลูกฝังไปเรื่อยๆ โดยเริ่มต้นจากบทสวดพระประจำวันนี่แหละ

ถ้าทำได้เชื่อว่าใจของลูกจะมีสมาธิและใฝ่ในสิ่งดีงาม เป็นผู้รู้การคิด การอ่าน การควรทำ ไม่ควรทำ เพราะสมองและความคิดของลูกถูกบรรจุด้วยสิ่งดีงาม

ที่มา บทความ : https://www.posttoday.com/lifestyle/64880

อ่านข่าวอื่นๆ: